การเปลี่ยนแปลงของโลก

สถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ในประเทศไทย ตั้งแต่ 2550 – ปัจจุบัน

  • 19 มิ.ย. 2550 บริเวณอ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ขนาด 4.5 ริคเตอร์  รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
  • 23 มิ.ย.2550 ที่ประเทศพม่า ขนาด 5.5 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่อ.เชียงแสน จ.เชียงราย และอาคารสูงในกรุงเทพฯ
  • 12 ก.ย. 2550 บริเวณตอนใต้ของสุมาตรา ขนาด 8.4 ริคเตอร์  รู้สึกได้บนอาคารสูงในกรุงเทพฯ
  • 13 ก.ย. 2550 บริเวณตอนใต้ของสุมาตรา ขนาด 7.1 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นสะเทือนได้บนอาคารสูงบางแห่งในกรุงเทพฯ
  • 16 ต.ค. 2550  บริเวณตอนเหนือของลาว ขนาด 5.0 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.เชียงราย
  • 2 พ.ย. 2550 ที่พรมแดนพม่า-ลาว-จีน ขนาด 5.7 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.เชียงราย
  • 28 ธ.ค. 2550 ที่ตอนเหนือของสุมาตรา ขนาด 5.7 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นสะเทือนได้บนอาคารสูง จ.ภูเก็ต จ.พังงา
  • 20 ก.พ.2551 เกิดที่ตอนเหนือของสุมาตรา ขนาด 7.5 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นสะเทือนได้บนอาคารสูงในกรุงเทพฯและจ.ภูเก็ต อาจเกิดสึนามิขนาดเล็กบริเวณใกล้ศูนย์กลาง
  • 22 เม.ย. 2551 ที่อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ขนาด 3.9 ริคเตอร์
  • 12 พ.ค.2551 บริเวณมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ขนาด7.8 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นไหวบนตึกสูงในกรุงเทพฯหลายแห่ง และประเทศจีนมีผู้เสียชีวิตประมาณ 20,000 คน
  • 1 ก.ค.2551 ที่อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ขนาด 3.8 ริคเตอร์
  • 21 ส.ค.2551บริเวณพรมแดนพม่า-จีน ขนาด 5.7 ริคเตอร์ รู้สึกได้บริเวณตึกสูงในกรุงเทพฯหลายแห่ง
  • 22 ก.ย. 2551 ที่ชายฝั่งตอนใต้ของพม่า ขนาด 5.2 ริคเตอร์ รู้สึกได้บริเวณตึกสูงในกรุงเทพฯหลายแห่ง
  • 23 ธ.ค. 2551 ที่อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี ขนาด 4.1 ริคเตอร์
  • 30 ก.ย. 2552 บริเวณตอนกลางเกาะสุมาตรา ขนาด 7.9 ริคเตอร์ รู้สึกได้บริเวณตึกสูงในกรุงเทพฯ ประเทศอินโดนีเซียมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1000 คน
  • 20 มี.ค. 2553 ที่ประเทศพม่า ห่างจากพรมแดนไทย อ.แม่สาย ประมาณ 80 กิโลเมตร ขนาด 5.0 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ จ.เชียงราย
  • 5 เม.ย. 2553 อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ขนาด 3.5 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.เมือง จ.เชียงราย
  • 9 พ.ค.2553 [บริเวณชายฝั่งตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ขนาด 7.3 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นไหวได้บนอาคารสูงบางแห่งในจ.ภูเก็ต จ.พังงา จ.สุราษฎร์ธานี จ.สงขลา และกรุงเทพฯ
  • 6 ก.ค.2553 ที่ประเทศพม่า ห่างจากอ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 6 กิโลเมตร ขนาด 4.5 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นไหวได้ทั่วไปบริเวณ อ.แม่สาย อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง อ.เชียงแสน และ อ.เมือง จ.เชียงราย
  • 23 ก.พ. 2554 ทีป่ระเทศลาว ห่างจากอ.เมือง จ.น่าน ประมาณ 100 กิโลเมตร ขนาด 5.3 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นไหวได้หลายจังหวัด เช่น เลย น่าน แพร่ อุดรธานี หนองคายและหนองบัวลำภู

และล่าสุด เมื่อวานนี้ (24 มี.ค.54) เวลา 20.55 น. สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว แจ้งว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ตรวจพบแผ่นดินไหวที่บริเวณชายแดนประเทศพม่า ขนาด 6.7 ริกเตอร์ ห่างจากทางทิศเหนือ ของอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประมาณ 56 กิโลเมตร  ทั้งนี้ แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นรับรู้ได้หลายจังหวัดทางภาคเหนือ ขณะที่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ก็สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนเช่นกัน โดยเฉพาะอาคารสูง ส่งผลให้พนักงานที่ยังทำงานอยู่ แตกตื่นวิ่งหนีออกจากอาคาร เพราะเกรงว่าจะได้รับอันตราย ถึงแม้ว่ากรุงเทพฯ จะอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกือบ 800 กม. เนื่อง จากกรุงเทพฯ อยู่ในบริเวณที่เป็นดินอ่อนเป็นพิเศษ ซึ่งมีอยู่บริเวณเดียวในประเทศไทย คือ แอ่งกรุงเทพ ซึ่งจริงๆแล้วคลุมหลายจังหวัด บริเวณดังกล่าวสามารถขยายความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้ กล่าวคือ ถึงแม้จะเกิดแผ่นดินไหวบริเวณอื่น แต่อาจจะส่งผลมาถึงบริเวณที่มีดินอ่อนได้ นั่นเอง

* สถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.seismology.tmd.go.th/eq_stat/eq_stat.php?pageNum_stat=13&totalRows_stat=265

ข้อความนี้ถูกเขียนใน Uncategorized คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น